เมนู

ตอบว่า แสดงถึงการกระทบประสาทเป็นกิจ* (หน้าที่) ของอารมณ์
เท่านั้น.
คือเมื่ออารมณ์นั้นมากระทบประสาทแล้ว การเปลี่ยนไปแห่งภวังค์นั้น
เป็นกิจของกิริยามโนธาตุ กิจของจักขุวิญญาณมีเพียงการเห็นเท่านั้น กิจของ
วิบากมโนธาตุมีเพียงการรับอารมณ์เท่านั้น กิจของวิบากมโนวิญญาณธาตุมี
เพียงการพิจารณาอารมณ์เท่านั้น กิจของกิริยามโนธาตุมีเพียงกำหนดอารมณ์
เท่านั้น ชวนะเท่านั้นย่อมเสวยรสอารมณ์อย่างเดียว ดังนี้.
ก็ในความเป็นไปแห่งจิตนี้ ใคร ๆ เป็นผู้กระทำหรือผู้สั่งให้กระทำว่า
ท่านจงชื่อว่าภวังค์ ท่านจงชื่อว่าอาวัชชนะ ท่านจงชื่อว่าทัสสนะ (จักขุวิญญาณ)
ท่านจงชื่อว่าสัมปฏิจฉันนะ ท่านจงชื่อว่าสันติรณะ ท่านจงชื่อว่าโวฏฐัพพนะ
ท่านจงชื่อว่าชวนะ. ท่านจงชื่อว่าตทาลัมพนะ ดังนี้ มิได้มี. (เพื่อความแจ่ม
แจ้งจึงแสดงถึงนิยาม 5)

ว่าด้วยนิยาม 5 อย่าง


ก็ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่องชื่อนิยาม 5 อย่าง คือ
พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช)
*ท่านแสดงกิจทั้งหมดมี 14 ที่นี่แสดงไว้ 8 คือ
1. การกระทบประสาทเป็นกิจของอารมณ์
2. การรำพึงถึงอารมณ์เป็นกิจของอาวัชชนะ
3. การเห็นเป็นกิจของจักขุวิญญาณ
4. การรับอารมณ์เป็นกิจของสัมปฏิจฉันนะ
5. การพิจารณาเป็นกิจของสันติรณะ
6. การตัดสินอารมณ์เป็นกิจของโวฏฐัพพนะ
7. การเสวยรสอารมณ์เป็นกิจของชวนะ
8. การเสวยรสอารมณ์ที่เหลือจากชวนะเป็นกิจของตทารัมมณะ

อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)
กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)
ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)
จิตนิยาม (ความแน่นอนของจิต).
บรรดานิยาม 5 เหล่านั้น ความที่พืชนั้น ๆ ให้ผลเหมือนกันกับพืช
นั้น คือ ความที่กอถั่วพูชนิดหนึ่งทอดยอดไปทางซ้าย1 เถาวัลย์ไปทางขวา
พันล้อมต้นไม้ไปทางขวา ดอกทานตะวันหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เถาย่าง-
ทรายมุ่งหน้าไปเฉพาะต้นไม้อย่างเดียว ผลมะพร้าวมีรูข้างบท ชื่อว่า พีชนิยาม
(โยชนาว่า เป็นธรรมดาของพืช) ความที่ต้นไม้นั้น ๆ ผลิดอกออกผลและมี
ใบอ่อนพร้อม ๆ กันในสมัยนั้น ๆ ชื่อว่า อุตุนิยาม ความที่กรรมนั้น ๆ
ให้ผลเช่นเดียวกันกับกรรมนั้น ๆ อย่างนี้คือ กรรมที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ 3
ย่อมให้วิบากเป็นติเหตุกะ ทุเหตุกะ และอเหตุกะ กรรมที่ประกอบด้วยกุศล
เหตุ 2 ย่อมให้วิบากเป็นทุเหตุกะ และอเหตุกะ ไม่ให้วิบากเป็นติเหตุกะ
ชื่อว่า กรรมนิยาม.
อีกอย่างหนึ่ง เป็นกรรมนิยามด้วยอำนาจแห่งวิบากเหมือนกับกรรม
นั่นแหละ เพื่อแสดงกรรมนิยามนั้น ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวเรื่องไว้ดังนี้
ในสมัยแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้านใกล้ประตูพระนครสาวัตถีถูก
ไฟไหม้ กระจุกหญ้า2 ติดไฟโพลงแต่บ้านไฟไหม้นั้น ขึ้นไปสวมคอกาตัวบิน
ทางอากาศ กานั้นร้องตกตายในแผ่นดิน.
เรือลำหนึ่งได้หยุดนิ่งลอยอยู่แม้ในมหาสมุทร เมื่อพวกเขาไม่เห็นทาง
ที่ใคร ๆ จะปลอดภัยจากอันตรายในภายใต้ จึงใคร่ครวญจับสลากคนกาลกรรณี
1. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกก็เป็นซ้ายมือ หรือเรียกว่า ทิศอุดร.
2. กระจุกหญ้าที่เขามัดทำวงกลมรองหม้อ

สลากนั้นได้ตกไปในมือหญิงภรรยาใกล้ชิดของนายเรือนั้นเท่านั้น ทีนั้น ชน
ทั้งหลายจึงพูดว่า ขอคนทั้งหมดอย่าพากันฉิบหายเพราะเหตุแห่งหญิงคนเดียว
พวกเราจักโยนเขาไปในน้ำ นายเรือพูดว่า เราไม่อาจเห็นหญิงนี้ลอยอยู่ในน้ำ
ได้ จึงให้เอาหม้อบรรจุทรายผูกติดคอโยนลงไป ในขณะนั้นนั่นเอง เรือก็แล่น
ไปดุจลูกศรที่ยิงไป ฉะนั้น.
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในถ้ำ ยอดภูเขาใหญ่ตกมาปิดประตูถ้ำ ในวันที่ 7
ยอดเขานั้นก็เปิดเองทีเดียว.
พวกภิกษุกราบทูลเรื่องทั้ง 3 นี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับ
นั่งแสดงธรรมในพระเชตวัน คราวเดียวกันทั้งหมด พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่
ผู้อื่นกระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้ว ดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่อง
อดีตมาแสดงธรรม จึงตรัสว่า กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึก
โคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟางสวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละ
บัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้นแม้บินอยู่ทางอากาศ. แม้หญิงนี้ก็เป็นหญิง
คนหนึ่งนั่นแหละในอัตภาพก่อน สุนัขตัวหนึ่งคุ้นเคยกัน เมื่อเธอไปป่าก็ไปด้วย
เมื่อมาก็มาด้วย พวกมนุษย์ทั้งหลายผู้ออกไปย่อมเยาะเย้ยเธอว่า บัดนี้ พราน
สุนัขออกแล้ว ดังนี้ นางอึดอัดอยู่ด้วยสุนัขนั้น เมื่อไม่อาจห้ามสุนัขได้ จึง
เอาหม้อใส่ทรายผูกคอแล้วเหวี่ยงไปในน้ำ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยเธอในท่ามกลาง
สมุทร. แม้ภิกษุนั้นก็เป็นนายโคบาลในอัตภาพก่อน เมื่อเหี้ยเข้าไปในรูก็หัก
กิ่งไม้กำมือหนึ่งปิดรูเสีย หลังจากนั้นมา 7 วัน เขาจึงมาเปิดรูเองทีเดียว
เหี้ยตัวสั่นออกมา ด้วยกรุณาเขาจังไม่ฆ่ามัน กรรมนั้นไม่ให้เพื่อจะปล่อยภิกษุ
นั้นผู้เข้าไปยังซอกเขานั่งอยู่.
เมื่อทรงประชุมเรื่องทั้ง 3 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า

น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส
น วิชฺชเต โส ชคติปฺปเทโส
ยตฺรฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา

ไม่ว่าในที่ใด ๆ ในอากาศ ในกลาง
ทะเลหรือในซอกเขา ส่วนภูมิประเทศที่สัตว์
สถิตอยู่แล้ว จะพึงพ้นไปจากบาปกรรมได้
ไม่มี ดังนี้.

นี้ ก็ชื่อว่า กรรมนิยาม เหมือนกัน. เรื่องอื่น ๆ แม้เช่นนี้ก็ควรแสดง.
อนึ่ง ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทรงถือปฏิสนธิ ในเวลาทรง
ออกจากครรภ์พระมารดา ในเวลาที่ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ ในเวลาที่พระตถาคต
ทรงประกาศพระธรรมจักร ในเวลาที่ทรงปลงอายุสังขาร ในเวลาที่เสด็จดับ
ขันธ์ปรินิพพาน หมื่นจักรวาลหวั่นไหว นี้ชื่อว่า ธรรมนิยาม.
อนึ่ง เมื่ออารมณ์กระทบประสาท ใคร ๆ เป็นผู้กระทำ หรือสั่งให้
กระทำว่า เจ้าจงชื่อว่า อาวัชชนะ ฯลฯ เจ้าจงชื่อว่า ชวนะ ดังนี้ มิได้มี
ก็ว่าโดยธรรมดาของตนตั้งแต่เวลาที่อารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิตที่เป็น
กิริยามโนธาตุก็ยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป จักขุวิญญาณก็ทำทัสสนกิจ (หน้าที่เห็น)
วิบากมโนธาตุก็ทำสัมปฏิจฉันนกิจ (หน้าที่รับอารมณ์) วิบากมโนวิญญาณธาตุ
ก็ทำสันติรณกิจ (หน้าที่พิจารณาอารมณ์) กิริยามโนวิญญาณธาตุก็ทำโวฏฐัพ-
พนกิจ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์) ชวนะเสวยรสแห่งอารมณ์ ดังนี้ นี้ชื่อว่า
จิตนิยาม ในอธิการนี้ ทรงประสงค์เอาจิตนิยามนี้.

กุศลจิตประกอบด้วยเหตุกะเป็นสสังขาริกก็ดี กุศลจิตที่ประกอบด้วย
อสังขาริกและสสังขาริกสหรคตด้วยอุเบกขาก็ดี ประกอบ (ทำ) กรรมแล้ว
ปฏิสนธิอันวิบากจิตเช่นเดียวกับจิตที่ทำกรรมแล้วนั้นให้ผลแล้ว ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ก็จิตสหรคตด้วยอุเบกขา 2 ดวง บัณฑิตพึงแสดงความเป็นไป
ครั้งแรกด้วยอำนาจอิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ภายหลังจึงควรแสดงด้วยอำนาจอิฏฐา-
รมณ์. ในทวารแต่ละทวารเป็นวิบากจิตทวารละ 12 ดวง รวมเป็นจิต 60 ดวง
ถ้วนแม้ด้วยประการฉะนี้. เมื่อว่าโดยการถือเอาวิบากจิตที่ยังมิได้ถือเอาก็ได้
วิบากจิต 16 ดวง.

อุปมาวิบาตจิตเปรียบด้วยคนหีบอ้อย


ในฐานะนี้ท่านถือเอาเรื่อง ชื่อว่า นาฬิยันโตปมะ เปรียบด้วยนัยว่า
ในเวลาที่คั้นอ้อยมีคนหีบอ้อย 11 คน ถือเครื่องคั้นอ้อยออกจากบ้านหนึ่งพบ
แหล่ง (ศูนย์รวม) อ้อยแห่งหนึ่ง ทราบว่าอ้อยนั้นแก่แล้ว จึงเข้าไปหาเจ้าของ
อ้อยแล้วพูดว่า พวกเรารับจ้างหีบอ้อย เจ้าของอ้อยตอบว่า เรากำลังหาพวก
ท่านเหมือนกัน แล้วพาชนเหล่านั้นไปโรงหีบอ้อย พวกคนรับจ้างเหล่านั้น
ตระเตรียมเครื่องหีบอ้อยแล้วพูดว่า พวกเรามี 11 คน ได้อีกหนึ่งคนกะจะได้
รับค่าจ้างพอดี เจ้าของอ้อยพูดว่า เรานี้แหละเป็นสหายช่วยท่าน แล้วขน
อ้อยไปเต็มโรงจึงได้เป็นสหายช่วยเหลือชนเหล่านั้น ชนเหล่านั้นทำกิจของตนๆ
เคี้ยวน้ำอ้อยข้นทำเป็นงบน้ำอ้อยแล้ว เมื่อเจ้าของพิจารณาให้ส่วนแบ่งแล้วก็ถือ
เอาส่วนของตน ๆ มอบโรงอ้อยให้แก่เจ้าของโดยอุบายนี้แหละ ทำการงาน
โรงอ้อย 4 หลัง อื่นอีกแล้วหลีกไป.
ในข้อนั้น ประสาททั้ง 5 พึงเห็นเหมือนโรงเครื่องยนต์ 5 แห่ง
อารมณ์ 5 พึงเห็นเหมือนแหล่งอ้อย 5 แห่ง วิบากจิต 11 ดวง พึงเห็นเหมือน